การเกิดหินน้ำมัน
เป็นหินที่น้ำมันแต่ละแหล่งในโลกพบว่ามีช่วงอายุตั้งแต่ 3 - 600 ล้านปี เกิดจากการสะสมและทับถมตัวของซากพืชพวกสาหร่าย และสัตว์พวกแมลง ปลา และสัตว์เล็กๆ อื่นๆ ภายใต้แหล่งน้ำและภาวะที่เหมาะสม ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนจำกัด มีอุณหภูมิสูงและถูกกดทับจากการทรุดตัวของเปลือกโลกเป็นเวลานับล้านปี ทำให้สารอินทรีย์ในซากพืชและสัตว์เหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสารประกอบเคอโรเจน ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดินทรายที่ถูกอัดแน่นกลายเป็นหินน้ำมัน
หินที่เป็นแหล่งกำเนิดหินน้ำมันจะคล้ายกับหินที่เป็นแหล่งกำเนิดปิโตรเลียม แต่หินน้ำมันอาจมีปริมาณเคอโรเจนมากถึงร้อยละ 40 ในขณะที่ปิโตรเลียมมีประมาณร้อยละ 1 หินน้ำมันมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ประเภทคือ
1. สารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่ผุพังมาจากชั้นหินโดยกระบวนการทางกายภาพและเคมีประกอบด้วยแร่ที่สำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแร่ซิลิเกต ได้แก่ ควอตซ์ เฟลสปาร์ เคลย์ และกลุ่มแร่คาร์บอเนต ได้แก่ แคลไซต์ โคโลไมต์ นอกจากนี้ยังมีแร่ซัลไฟต์อื่นๆ และฟอสเฟตปริมาณแร่ธาตุในหินน้ำมันแต่ละแหล่งจะแตกต่างกันตามสภาพการกำเนิด การสะสมตัวของหินน้ำมันและสภาพแวดล้อม
2. สารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วยบิทูเมนและเคอโรเจน บิทูเมนละลยได้ในเบนซีน เฮกเซน และตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดอื่นๆ จึงแยกออกจากหินน้ำมันได้ง่าย เมื่อนำมาสกัดควรให้น้ำมันอย่างน้อยร้อยละ 50 ของปริมาณสารอินทรีย์ที่มีอยู่
แหล่งที่มา :http://www.vcharkarn.com/lesson/1463
จัดทำโดย
นายธันยบูรณ์ ชูชะนะ ม.4/1 เลขที่ 3
โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น