พันธะโลหะ
โลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง นอกจากนี้โลหะสามารถนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี จากสมบัติที่กล่าวมาแล้วนักเรียนคิดว่าอะตอมของโลหะน่าจะยึดกันด้วยพันธะชนิดเดียวกับสารไอออนิกที่
สมบัติบางประการของสาร
สมบัติบางประการของสาร
สาร | ตัวอย่าง | สมบัติของสาร | |||
ลักษณะที่ ปรากฎ | การนำ ไฟฟ้า | จุด หลอมเหลว(oC) | จุดเดือด (oC) | ||
สารประกอบ ไอออนิก | โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) | ของแข็งสีขาว | ไม่นำ | 801 | 1465 |
แคลเซียมฟลูออไรด์ | ของแข็งสีขาว | ไม่นำ | 1418 | 2533 | |
โพแทสเซียมไอโอไดด์ (Kl) | ของแข็งสีขาว | ไม่นำ | 681 | 1330 | |
สาร โคเวเลนต์ | น้ำตาลทราย | ของแข็งสีขาว | ไม่นำ | 192 (สลายตัว) | - |
เอทานอล | ของเหลวใส ไม่มีสี | ไม่นำ | -114.1 | 78.3 | |
แก๊สไฮโดรเจน | แก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น | ไม่นำ | -259 | -253 | |
สารโครงผลึก- ร่างตาข่าย | เพชร (C) | ของแข็งใส ไม่มีสี | ไม่นำ | 3550 | 4830 |
แกรไฟต์ (C) | ของแข็งสีดำ | นำ | 3727* | 3640 | |
โลหะ | เหล็ก (Fe) | ของแข็งสีเงินวาว | นำ | 1535 | 2750 |
ทองแดง (Cu) | ของแข็งสีน้ำตาลแดง | นำ | 1085 | 2572 | |
โครเมียม (Cr) | ของแข็งสีเงินวาว | นำ | 1857 | 2672 |
แสดงว่าอะตอมของโลหะควรยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะที่แตกต่างจากพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์ สำหรับการเกิดพันธะในโลหะอธิบายได้ว่าอะตอมของโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำจึงเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระไปได้ทั่วทั้งก้อนโลหะ แรงยึดเหนี่ยวอย่างแข็งแรงระหว่างไอออนบวกกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เป็นอิสระนี้เรียกว่า พันธะโลหะ ดังนั้นความแข็งแรงของพันธะโลหะจึงขึ้นอยู่กับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนและประจุของไอออนบวกของโลหะแต่ละชนิดการเกิดพันธะในโลหะอาจแสดงได้ด้วยแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน
จัดทำโดย
นายธันยบูรณ์ ชูชะนะ เลขที่ 3 ม.4/1
โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น