วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          
        ระบบการสื่อสารข้อมูล ก็คือ การรับ ส่ง โอน ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร  จากผู้ส่งไปยังผู้รับข้อมูล โดยผ่านสื่อซึ่งเป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล

       
        เครือข่ายคอมพิวเตอร์  ก็คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น



       องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล 
  1. ผู้ส่งข้อมูล คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์  สัตว์  หรือ             เครื่องคอมพิวเตอร์
  2.ผุ้รับข้อมูล คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่ง   ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์  สัตว์  หรือเครื่อง              คอมพิวเตอร์
  3.ข้อมูล  คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งอาจเป็นข้อความ เสียงหรือภาพเคลื่อนไหว
  4.สื่อนำข้อมูลหรือตัวกลาง  คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ  เช่น คน      อากาศ และสายเคเบิล
  5.โพรโทคอล คือ กฎเกณฑ์  ข้อตกลง หรือวิธีการในการสื่อสารข้อมูลซึ่งผู้ส่งและผู้รับจะต้องตกลงวิธี        การสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะส่งและรับข้อมูลได้ถูกต้อง 
      ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
สามารถแบ่งการสื่อสารข้อมูลตามทิศทงการส่งข้อมูล
1.การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว  
  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว และผู้รับทำหน้าที่รับข้อมูลอย่างเดียว และทำ   หน้าที่เสนอข้อมูลเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดข้อดีคือ ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา เช่นการสื่อสารข้อมูลผ่าน   ทางอีเมล
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน
  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้สื่อสารจะผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่งโดยการสื่อสารข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะต้องรอ     ให้ผู้ส่งข้อมูลส่งข้อมูลว่าจะลบการส่งข้อมูลแล้ว เพื่อให้ผู้รับส่งกลับมาได้
3.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่พัฒนามาจากการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน ซึ่งจะมีข้อด้อยคือ ไม่             สามารถส่งและรับข้อมูลพร้อมกันระหว่างสื่อสารข้อมูลได้ แต่การสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน ผูสื่อสาร   สามารถส่งข้อมูลโต้ตอบกันได้ทันที
    
ชนิดของสัญญาณ
เป็นรูปแบบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวหนังสือ เสียง และภาพเคลื่อนไหว จึงมีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาดัดแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  เรียกว่า สัญญาณข้อมูล  ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
1. สัญญาณแอนะล็อก
   มีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่องในรูปแบบคลื่น สามารถแทนลักษณะของสัญญาณได้ด้วยรูปแบบคลื่นไซน์ซึ่งมีค่าความถี่เท่ากับจำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ใน 1 วินาที

2. สัญญาณดิจิทัล
  มีลักษณะเป็นสัญาณไม่ต่อเนื่องในรูปแบบกราฟสี่เหลี่ยม สัญญาณจะไม่มีการปะติปะต่อ
  และสัญญาณดิจิทัลจะทีความแม่นยำกว่าสัญญาณแอนะล็อก


                                                                                        หนังสือ    : เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.4
                                                                                       ผู้แต่ง      : รศ.ดร.อำนวย  เดชชัยศรี
                                                                                        โรงพิมพ์ :บริษัท วัฒนาพานิช จำกัด
                                                     ปีที่พิมพ์ : 2557 



                                                                                   จัดทำโดย
                                                                                            นายธันยบูรณ์  ชูชะนะ  เลขที่ 3  ม.4/1                                                                                            โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พลังงานความร้อน

                                             พลังงานความร้อ น                 แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน   มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจ...